จีโนม ของ Lacticaseibacillus rhamnosus

Lacticaseibacillus rhamnosus ถือเป็นสิ่งมีชีวิตที่ไม่มีแหล่งที่อยู่แน่นอน[8] โดยแยกสายพันธุ์ย่อยได้จากสภาพแวดล้อมต่าง ๆ มากมาย รวมทั้งช่องคลอดและระบบทางเดินอาหาร สายพันธุ์ย่อยของ L. rhamnosus มีความสามารถในการทำงานของยีนเฉพาะสายพันธุ์ซึ่งจำเป็นต่อการปรับให้เข้ากับสภาพแวดล้อมที่หลากหลาย[9] จีโนมที่พบในทุกสายพันธุ์ (core genome) ประกอบด้วยยีน 2,164 ยีน จากทั้งหมด 4,711 ยีน (แพนจีโนม)[9] จีโนมที่พบในบางสายพันธุ์ (accessory genome) ถูกแทรกแซงโดยยีนที่เข้ารหัสการขนส่งคาร์โบไฮเดรตและเมแทบอลิซึม โพลีแซคคาไรด์นอกเซลล์ การสังเคราะห์ทางชีวภาพ การผลิตแบคทีริโอซิน การผลิตพิไล (pili) เทคนิคระบุบริเวณในจีโนมที่ต้องการปรับแต่งยีน (CRISPR-Cas) และองค์ประกอบทางพันธุกรรมของฟังก์ชันการขนส่งและการเคลื่อนที่มากกว่า 100 ฟังก์ชัน เช่น เฟจ พลาสมิดยีน และทรานสโพซอน[9]

จีโนมเฉพาะของสายพันธุ์ย่อย L. rhamnosus LRB ในกรณีนี้ นำมาจากฟันน้ำนมของมนุษย์ ประกอบด้วยห่วงโซ่โครโมโซม 2,934,954 คู่เบส ที่มีปริมาณเบส GC ร้อยละ 46.78[10] จีโนมนี้มียีนทั้งหมด 2,749 ยีน โดยมี 2,672 ที่เป็นลำดับการเข้ารหัสโปรตีนทั้งหมด[10] ตัวอย่างนี้ไม่มีพลาสมิดใด ๆ เลย[10] สายพันธุ์ที่มีการศึกษาอย่างกว้างขวางที่สุดคือ L. rhamnosus GG ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่แยกได้จากลำไส้ ประกอบด้วยจีโนม 3,010,111 คู่เบส ดังนั้น จีโนม LRB จึงสั้นกว่าจีโนมของ GG โดย LRB ไม่มีคลัสเตอร์ยีน spaCBA ของ GG และคาดว่าจะไม่สามารถผลิตพิไลที่ทำงานได้[10] ความแตกต่างนี้อาจช่วยอธิบายได้ว่าทำไมแต่ละสายพันธุ์จึงอาศัยอยู่ในแหล่งที่อยู่อาศัยที่แตกต่างกัน